เมนู

3. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้า
ถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่
4. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้า
ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.

[236] อปัสเสนะ 4


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้ว
เสพของอย่างหนึ่ง
2. พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
3. พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง
4. พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.

[237] อริยวงศ์


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรตามมีตามได้และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี
ตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร
และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกหมุ่น
ไม่ติดแน่น มีปกติ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็
ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วย
จีวรนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
2. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตาม
มีตามได้ และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ

ไม่หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ ด้วยบิณฑบาต
ตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น
ในสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.
3. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะ
ตามมีตามได้ และมีสติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะ แล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่
หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภค
อยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษ
ด้วยเสนาสนะนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
4. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา
กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะ
ความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความ
ยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ
มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.

[238] ปธาน 4


1. สังวรปธาน เพียรระวัง
2. ปหานปธาน เพียรละ
3. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ
4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว.
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. รู้แจ้งธรรมด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่
เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่า ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่า สังวรปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมให้สิ้นไป ย่อมให้ถึง
ความไม่มีซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่ง
พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป
ย่อมให้ถึงความ ไม่มีซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ นี้เรียกว่า
ปหานปธาน.